วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ทุกคนคือศิษย์ตลอดชีวิตของครู ถ้อยคำชื่นชมเชิดชูไม่ต้องให้ครูก็ได้



ครูคือใคร.......

ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ 
ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล 
ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์ 
ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน 

ครูคือผู้  ชี้นำ  ทางความคิด 
ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน 
ให้รู้ทุกข์  รู้ยาก รู้พากเพียร 
ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน 

ครูคือผู้  ยกระดับ วิญญาณมนุษย์ 
ให้สูงสุด กว่าสัตว์  เดรัจฉาน 
ปลุกสำนึก  สั่งสม อุดมการณ์ 
มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง 

ครูจึงเป็น นักสร้าง  ผู้ใหญ่ยิ่ง 
สร้างคนจริง  สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง 
สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง 
ขอมอบเพลง  นี้มา บูชาครู 

...เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์...






ภาษาไทย ภาษาทางราชการ



 ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

ชื่อภาษาและที่มา

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว  เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

หน่วยเสียง

ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท[1] คือ
1.             หน่วยเสียงพยัญชนะ
2.             หน่วยเสียงสระ
3.             หน่วยเสียงวรรณยุกต์


วิวัฒนาการของอักษรไทย




              อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
             อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง
            ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

วิวัฒนาการ
ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด


ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=254



ตัวอย่างภาพสำนวนไทยพร้อมสำนวน


กระต่ายกับเต่า








จับปลาสองมือ








น้ำขึ้นให้รีบตัก







ทำนาบนหลังคน









คนล้มอย่าข้าม





ขอบคุณข้อมูลจาก/www.google.co.th/search?q=สํานวนไทยพร้อมรูป&hl=th&prmd=imvns&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=DCNEULuBDYnxrQfRwoHAAQ&ved=0CDEQsAQ&biw=1366&bih=607

ตัวอย่างสำนวนไทยที่เกิดจากธรรมชาติ พร้อมความหมาย

1. กาฝาก
ความหมาย กินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้
ความเป็นมา กาฝากเป็นต้นไม้เล็กๆ เกิดเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ และอาศัยอาหาร ในต้นไม้ใหญ่เลี้ยงตัวเอง
2. ไก่กินข้าวเปลือก
ความหมาย กินสินบน
สำนวนนี้พูดเต็มว่า ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ตราบใจ คนก็ยังกินสินบนอยู่ตราบสิ้น
3. ไก่ขัน
ความหมาย เวลารุ่งสาง
ความเป็นมา ธรรมชาติไก่พอเริ่มสางก็ขัน เสียงไก่ขัน จึงเป็นสัญญาณว่าเริ่มสางแสงเงิน แสงทองกำลังจะขึ้น
4.ใจเป็นปลาซิว
ความหมาย ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ขี้ขลาด ขี้กลัว
ความเป็นมา ปลาซิวเป็นปลาชนิดหนึ่งตัวเล็กๆ ตายง่าย คือ พอเอาขึ้นจากน้ำก็ตาย
ตัวอย่าง “พระสังข์สรวลสันต์กลั้นหัวร่อ ยิ้มพลาง ทางตรัสตัดพ้อเอออะไรใจคอเหมือนปลาซิว”
5. ตีปีก
ความหมาย ดีใจ
ความเป็นมา มาจากไก่ที่ตีปีกเมื่อแสดงอาการกิริยาร่าเริงคนเมื่อแสดงกิริยาร่าเริงก็งอแขนสองข้างขยับเข้าออกระทบกับลำตัว
6. ตืดเป็นตังเม
ความหมาย ขี้เหนียว คือเอาแต่แม้ซึ่งมีลักษณะเหนียวมาเปรียบกับคนที่ขี้เหนียว ไม่ยอมเสียอะไรให้ใครได้ง่าย
7. ถ่านไฟเก่า
ความเป็นมา ถ่านที่เคยติดไฟแล้วมอดอยู่ หรือถ่านดับ ถ่านอย่างนี้ ติดไฟลุกง่ายเร็วกว่าถ่านใหม่ที่ไม่เคยติดไฟเลย ได้เชื้อเข้านิดหน่อยก็ติดลุกทันที เราเปรียบกับหญิงที่เคยเป็นภรรยา หรือเคยได้เสียกับชายมาแล้ว แล้วมาพรากจากกันไป พอมีโอกาสมาพบกันใหม่ก็คืนดีกัน
8. ถึงพริกถึงขิง
ความหมาย รุนแรงเต็มที่
ความเป็นมา มาจากการปรุงอาหารแล้วใส่ขิง หรือมีรสเผ็ด ขิงมีรสร้อน เมื่อใส่มากก็จะมีรสทั้งเผ็ดทั้งร้อน การทำอะไรที่รุนแรงเต็มที่ หรือการกล่าวถ้อยคำที่รุนแรง เช่น การเล่นหรือการถกเถียง จึงพูดเป็นสำนวนว่า ถึงพริกถึงขิง
9. โตฟักโตแฟง
ความหมาย โตแต่กาย ส่วนสติปัญญาความคิดยังน้อย ใช้กับเด็กโตมีอายุมาแล้ว แต่ยังทำอะไรเหมือนกะเด็กเล่น
ความเป็นมา สำนวนนี้เอาฟักและแฟงมาเปรียบคือ ฟักแฟงมักจะใหญ่เกินวัน
10. น้ำขึ้นให้รีบตัก
ความหมาย กำลังชะตาขึ้นจะต้องการอะไรหรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ตนก็ให้รีบทำเสีย
ความเป็นมา สำนวนนี้เอาน้ำในแม่น้ำในแม่น้ำลำคลองมาเปรียบเวลาน้ำขึ้นให้รีบตักใส่ตุ่มไว้ ถ้าเพิกเฉยน้ำลดแห้งไป ก็ตักไม่ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.spiceday.com/picpost/viewthread.php?tid=50462&extra=&page=2

สุภาษิต มีความหมายว่าอย่างไร เรามาดูกัน


สุภาษิต ความหมาย 
       ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา  ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี  เป็นคำตักเตือนสั่งสอน  และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที   โดยไม่ต้องแปลความหมาย  ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ  ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.thaigoodview.com/node/102443

อาหารชีวจิต คืออะไร ?


    อาหารชีวจิตเป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่ ดร.สาทิส อินทรกำแหง ศึกษาและปรับปรุงจากหลักการของแมคโครไบโอติกส์ ให้เหมาะสมกับสภาพวิถีชีวิตของคนไทยและเมืองไทยและให้ง่ายต่อการจัดหา ปรุง และรับประทาน กล่าวโดยรวมๆ อาหารชีวจิต คือ อาหารชั้นเดียว หมายถึง เป็นอาหารที่คงสภาพตามธรรมชาติเดิมไว้มากที่สุด ไม่ต้องผ่านการปรุงแต่งมากมาย และคงรสชาติเดิมๆของอาหารไว้มากที่สุด เช่นว่า ข้าว ก็เพียงแค่กระเทาะเปลือกออกกลายเป็นข้าวกล้อง ไม่ต้องขัดสีจนขาว
     ทั้งนี้ อาหารชีวจิตไม่เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อหรือบาปบุญคุณโทษ แต่เป็นการนำความรู้ทางโภชนาการขั้นสูงมาพิจารณาอาหารต่างๆ แล้วเลือกสรรเฉพาะอาหารที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายและจิตใจมากที่สุด ที่สำคัญเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดสารพิษ "ท็อกซิน - Toxin" ตกค้างน้อยที่สุด
สูตรสัดส่วนอาหารชีวจิต
1. อาหารประเภทแป้งซึ่งไม่ขัดขาว
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifเช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นข้าวโพดทั้งเมล็ดหรือทั้งฝัก และถ้าเป็นแป้งขนมปัง ก็เป็นขนมปังโฮลวีท และถ้าจะให้เป็นแป้งกลุ่มคอมเพล็กซ์ คาร์โบไฮเดรต คือเป็นแป้งหลายชั้นซึ่งมีโปรตีนปนอยู่ด้วย ก็ควรเติมมันเทศ มันฝรั่ง เผือก ฟักทองลงไป
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifกลุ่มนี้ รับประทาน 50% หรือครึ่งหนึ่งของแต่ละมื้อ
2. ผัก
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifใช้ทั้งผักดิบและผักปรุงสุกอย่างละครึ่ง ผักถ้าปลูกเอง ไม่ใช้สารเคมีจะดีที่สุด แต่ถ้าต้องซื้อจากตลาด ต้องเลือกผักที่ปลอดสาร ล้างผ่านน้ำ และแช่น้ำด่างทับทิมหรือแช่น้ำส้มสายชูเจือจางสัก 1-2 ชั่วโมง ก็จะช่วยล้างสารพิษได้ด้วย
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifรับประทานผักหนึ่งในสี่หรือ 25% ของปริมาณอาหารที่กินในแต่ละมื้อ
3. ถั่วต่างๆ อยู่ในประเภทโปรตีน
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifเช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifรับประทาน 15% ของแต่ละมื้อ
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifนอกจากนี้ จะใช้โปรตีนจากสัตว์เป็นครั้งคราว คือ ไข่ ปลา และอาหารทะเล สัปดาห์ละ 1-2 มื้อ
4. เบ็ดเตล็ด
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifประเภทแกงก็เป็น แกงจืด แกงเลียง
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifประเภทซุป ก็เป็นมิโซ่ซุป (มิโซ่ = เต้าเจี้ยวญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง)
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifประเภทของขบเคี้ยว งาสดและงาคั่ว ใช้อาหารต่างๆได้ทุกอย่าง ถั่วคั่ว เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตงโม เมล็ดดอกทานตะวัน
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifผลไม้สด ต้องเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอห่าม มะม่วงดิบ พุทรา
http://www.cheewajit.com/images/web/icon_1.gifรับประทาน 10% ของแต่ละมื้อ

 อ้างอิง : http://www.cheewajit.com/food.aspx

นิทานเรื่อง ไผ่รวมกอ


คุณค่าของนิทาน

คุณค่าของนิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน หมายถึงเรื่องที่เล่าสืบกันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวาจา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้ นิทานพื้นบ้านปรากฏอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม มีทั้งความแตกต่าง หลากหลาย และความเหมือน มีความสำคัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งนี้ จำแนกความสำคัญของนิทานพื้นบ้านได้เป็น 3 ประการ

1.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของนิทาน เช่น ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม สภาพเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ และถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งรูปแบบการเล่านิทานที่ใช้คำประพันธ์เข้ามาช่วย เช่น แหล่ เทศน์ เสภา ยังสร้างความงามด้านรูปแบบอีกโสดหนึ่ง ดังนั้นหากเยาวชนได้เรียนรู้นิทานพื้นบ้านของตนจึงเป็นช่องทางในการรู้ตนเอง สามารถอธิบายตนเองได้ รวมทั้งอาจจะบอกได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในวัฒนธรรมนั้นๆ ของตนได้
2.ให้ความสนุกสนานเพลิด เพลิน ปกติแล้วผู้เล่านิทานมักเป็นผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบ การณ์ และผู้ฟังมักจะเป็นเด็กหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า การเล่านิทานพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยังความชื่นชอบในผู้ฟังทุกหมู่ทุกเหล่า ปัจจุบันการเล่านิทานก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือผู้ฟังเท่านั้น
3.สอนหรือสอดแทรกศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม หรือให้คติเตือนใจ เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานสุภาษิต นิทานในศาสนาต่างๆ นิทานเหล่านี้ล้วนสอนให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงคุณธรรมที่พึงประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม เช่น สอนให้ไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า สอนให้ระวังการใช้คำพูด ฯลฯ กระตุ้นความเป็นวีรบุรุษ พัฒนาศรัทธาที่มีต่อศาสนา และเพื่อหลบหลีกความจำเจในชีวิตประจำวัน มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้การศึกษา ให้ความบันเทิง และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคม วัฒนธรรมแต่ละแห่งประสงค์


นิทานพื้นบ้าน


นิทานพื้นบ้าน

        นิทานพื้นบ้าน เป็นการเล่านิทานเรื่องเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ชนทุกชั้น นับตั้งแต่พระราชาลงมาจนถึงคนยากจน (และยังมีนิทานเล่าว่า แม้เทวดาก็ชอบฟังนิทาน ถ้ามนุษย์เล่านิทานในเวลากลางวันจะถูกเทวดาแช่ง เพราะเวลากลางวันเทวดาต้องไปเฝ้าพระอิศวร ไม่มีโอกาสไปชุมนุมกันฟังนิทานที่มนุษย์เล่านั้นด้วย) ถึงแม้ว่าเรื่องในนิทานจะแตกต่างกันไปตามภาคต่าง ๆ ของโลก แต่จุดประสงค์ดั้งเดิมในการเล่านิทานของมนุษย์เป็นอย่างเดียวเหมือนกันหมด นั่นก็คือ มนุษย์เราทั่วไปต้องการเครื่องบันเทิงใจในยามว่างงานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเป็นเหตุผลเนื่องมาแต่ศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ และเป็นต้นเหตุให้มีนิทานขึ้นมากมาย
        นิทานพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เยาวชนควรสนใจศึกษาค้นคว้านิทานพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนเพื่อที่จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ของคนพื้นบ้าน ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีการพัฒนาด้านจิตพิสัยดียิ่งขึ้น
        นอกจากนี้ยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมของคนรุ่นหนึ่งกับอีกรุ่นหนึ่งให้มีความงอกงามต่อเนื่องกันไป ซึ่งหมายถึงว่าเราได้ร่วมศึกษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่นิทานพื้นบ้าน อันเป็นมรดกสำคัญของ สำคัญให้ดำรงอยู่ต่อไป
        นิทานพื้นบ้านส่วนใหญ่มีการถ่ายทอดด้วยการบอกเล่าด้วยวาจา เรียกว่า วรรณกรรม มุขปาฐะ และมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า วรรณกรรมลายลักษณ์ ข้อมูลทั้งสองประเภทยังคงมีการรักษาไว้ด้วยการจดจำ และด้วยการเก็บรักษาในรูปแบบของหนังสือ ผู้ที่เป็น
        เจ้าของนิทานพื้นบ้านซึ่งได้ถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้น ให้แก่ผู้ที่ศึกษาเราเรียกว่า วิทยากร ( วิทยากร เป็น คำสมาสในภาษาสันสกฤตและบาลี มาจากคำว่า “ วิทยา ” = ความรู้ และ คำว่า “ กร ” = ผู้ทำ หมายถึง
        ผู้ทำความรู้ หรือผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาของตน ) การที่เราจะศึกษานิทานพื้นบ้านจึงต้องอาศัยข้อมูลจากวิทยากรท้องถิ่น เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็นำข้อมูลมาศึกษาอย่างเป็นขั้นตอน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก